วันอาทิตย์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2554
จาก "ซินเดอเรลล่า" ถึง "ดวงตาในดวงใจ"
สวัสดีครับ บทความนี้เป็นบทความที่สองของผมนะครับ วันนี้เราจะมาพูดถึงนิทานปรัมปรา เรื่อง "ซินเดอเรลล่า" นิทานที่มีความคลาสสิค (แต่ไม่ได้เกิดในยุคคลาสสิค) นิทานเรื่องนี้มีความโด่งดัง มีการนำไปปรับปรุง แต่งเติมเสริมแต่ง ถูกนำไปตีความและนำไปเล่าใหม่ ว่ากันว่าแทบจะทุกมุมโลกที่มีงานวรรณกรรมเลยทีเดียว โดยแก่นของเรื่อง (Theme) ก็มุ่งเป้าไปที่ การเติมเต็มความฝันของเด็กผู้หญิง คุณงามความดี ธรรมมะย่อมชนะอธรรม บลาๆๆๆ ภาพยนต์หลายต่อหลายเรื่องที่นำเรื่องสาวน้อยในเถ้าถ่านมาเล่าใหม่ก็มักจะได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักอยู่เสมอ อย่างเช่นภาพยนต์ยอดนิยมขวัญใจคนกรุงเรื่อง "รถไฟฟ้ามาหานะเธอ" ที่แทบจะ Copy นิทานโบราณเรื่องนี้ เพียงแต่นำมาเล่าใหม่ ในบริบททางสังคมที่เปลี่ยนไป เท่านั้นเอง
ล่าสุดถ้าหากใครได้รับชมละครจอเงินที่กำลังออนแอร์ทางช่อง 3 เรื่อง "แก้วตาในดวงใจ" ซึ่งนำแสดงโดย เฟิร์ส เอกพงศ์ จงเกษกรณ์ กับ หยาด หยาดทิพย์ ราชปาล ก็อาจจะเข้าใจความละม้ายคล้ายคลึงกันระหว่างเรื่องต้นฉบับอย่าง ซินเดอเรลล่า มาถึงเรื่องที่นำมาเล่าใหม่อย่างเรื่อง ดวงตาในดวงใจ หลายคนอาจบอกว่าเหมือน หลายคนอาจบอกว่ามันไม่เหมือน แต่สำหรับผม ความเหมือนหรือความแตกต่างกันของสองเรื่องนี้เปรียบได้กับ "มนุษย์" ทำไมหนะหรือครับ เพราะว่ามนุษย์ถูกแบ่งออกเป็นสองส่วนคือ กาย & จิต กายหรือรูปลักษณ์ภายนอกคือเรื่อง "ดวงตาในดวงใจ" ส่วนจิต หรือจิตวิญญาณคือเรื่องต้นฉบับ หรือเรื่อง "ซินเดอเรลล่า" นั่นเองครับ
เพลงพิณ นางเองของเรื่อง เป็นสาวน้อยนักศึกษา สะท้อนภาพลักษณ์ของ "ซินเดอเรลล่า"ในหลายๆจุด แม้ว่าเธอจะไม่ได้คลุกเถ้าถ่าน ยากจน หรือน่าสงสาร เพราะผู้แต่งได้นำเรื่องเก่ามาปรับให้เข้ากับยุคสมัยมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซินเดอเรลล่า จึงกลายเป็นเพลงพิณ ในคราบของเด็กนักศึกษาจากชนบท แต่ก็มีความน่ารัก ไร้เดียงสา แอ๊บแบ้วเบาๆ มีความเป็นศิลปิน(ติส)เล็กน้อย สิ่งที่เพลงพิณต้องการคือความรัก ชายหนุ่มที่เป็นดั่งวีรบุรุษขี่ม้าขาว เป็นเจ้าชายในสายตาของเธอและทุกๆคน และในที่สุดเธอก็ได้พบกับ "ศาสตร์" ชายหนุ่มเจ้าของบริษัทใหญ่โตที่เธอต้องการจะเข้ามาฝึกงาน ชายหนุ่มคนนี้สะท้อนภาพของ เจ้าชาย ในเรื่อง ซินเดอเรลล่า ได้อย่างสมบูรณ์แบบ ความสง่างาม ฐานะ ฐานันดร ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามความปรารถนาของเด็กผู้หญิงอย่างเพลงพิณ แต่เพื่อที่จะสำเร็จความปรารถนานี้ผู้ดำเนินเรื่องอย่างเพลงพิณจะต้องฟันฝ่าข้อพิสูจน์(preuves)และอุปสรรค์(obstacles)ต่างๆนาๆ ผู้ที่จะขัดขวางความฝันนี้คือ "มุกดารัศมิ์" หญิงที่มีความเหมาะสมกับ ศาสตร์ มากที่สุด เธอมีความเป็นผู้ดี (ผู้ดีหมายถึงผู้ที่รู้จักกาละและเทศะ) แต่ในเรื่องนี้เธอก็เหมือนนางร้ายทั่วๆไปคือ ต้องร้าย(เหงหละ) เธอเป็นผู้ดี คือทำตัวเเหมือนคนรู้จักกาละเทศะแต่เธอไม่เป็นผู้ดี คือเธอไม่รู้จักกาละเทศะเอาเสียเลย ชื่อของเธอคือ มุกดารัศมิ์ (มุก)ซึ่งสะท้อนความร่ำรวย ความเป็นที่หนึ่ง ความเป็นไฮโซ ความบริสุทธิ์ ซึ่งตรงกันข้ามกับชื่อของเพลงพิณ ซึ่งสะท้อนความเป็นท้องถิ่น ความร่าเริง ความสดใส ดังนั้นนางเอกและตัวร้ายเรื่องนี้จึงมีความขัดแย้งกันคล้ายๆกับเรื่อง ซินเดอเรลล่า (เริ่มเห็นภาพแล้วใช่ไหมครับ) ทั้งนี้ทั้งนั้นตัวละครเอกผู้ดำเนินเรื่องอย่างสาวน้อยเพลงพิณจะไม่สามารถบรรลุความฝันเธอได้เลยถ้าหากปราศจาก "สิทธิเทพ" ปู่ผู้ล่วงลับของศาสตร์ ผู้ซึ่งคอยช่วยเหลือเพลงพิณอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน สิทธิเทพก็คือ นางฟ้า ในเรื่องซินเดอเรลล่าอย่างชัดเจนโดยไปจำเป็นต้องมีคำอธิบายเพิ่มเติม
สรุปแล้วเรื่อง "ดวงตาในดวงใจ" คือเรื่อง "ซินเดอเรลล่า" ในบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป กล่าวคือ ได้ใส่ความเป็นท้องถิ่น ดนตรีอีสาน ใส่ความโรแมนติก ความเพ้อฝัน สายลม ท้องทุ่ง และแสงแดด สะท้อนความฝันของหญิงสาวในสังคมปัจจุบัน โดยส่วนตัวแล้ว เรื่องแก้วตาในดวงใจก็เป็นละครที่น่าติดตาม ตลกคลายเครียดได้เป็นอย่างดี เป็นละครที่แฝงข้อคิด และเป็นละครสำหรับครอบครัว เหมาะสำหรับช่วงเวลาทานอาหารค่ำพร้อมหน้ากับครอบครัว ผมเชื่อว่าถ้าเปิดช่องสามดูแก้วตาในดวงใจก็ใจเพิ่มความอบอุ่น ความสนุกสนานแก่ทุกคนได้อย่างแน่นอน
ความคล้ายคลึงหรือความแตกต่างสามารถหาคำตอบได้รวมกัน ร่วมแชร์ความคิดเห็นได้อย่างเสรีครับ....
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
เอาบทละคร มาตีความ ได้ น่าสนใจค่ะ ติดตามนักเขียนคนนึง
ตอบลบจากคนที่สนใจมาเจอบล็อกคุณ อ่านเรื่อง คนนอก
ที่ติดตามมา จากนักเขียนคนนึง ที่มีแนวความคิดคล้ายๆกัน
บางทีคนที่เข้าใจชีวิตที่สุด ดูเหมือนจะเป็นคนแปลกแยกที่สุดในสายตา
คนอื่น ยากนะคะ จะหาคนที่สนใจ ในเรื่องที่เราสนใจ